วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มารยาทในการรับประทานอาหารแบบตะวันตก

มารยาทในการรับประทานอาหารแบบตะวันตก 1. เมื่อเข้าไปที่โต๊ะอาหาร สุภาพบุรุษควรดึงเก้าอี้ให้สุภาพสตรี แล้วคลี่ผ้าเช็ดปากบนโต๊ะให้สุภาพสตรีด้วย การคลี่ผ้าเช็ดปากให้วางบนตัก โดยพับเป็นสองท่อน เอาชายผ้าเข้าหาตัว และเมื่อต้องลุกจากโต๊ะระหว่างรับประทานอาหาร ผ้าเช็ดปากนั้นให้วางลงบนเก้าอี้หรือพนักวางแขน เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว ให้เอาผ้าวางบนโต๊ะด้านขวา 2. ควรนั่งอย่างสบาย ตัวตรง ไม่ก้มหน้า ให้ดึงเก้าอี้เข้าหาโต๊ะ และไม่นั่งไขว่ห้าง ไม่นั่งเท้าแขน เอามือวางบนตัก และไม่ควรประแป้งหรือทาลิปสติกบนโต๊ะอาหาร 3. โทรศัพท์มือถือไม่ควรเปิดเสียง และห้ามวางไว้บนโต๊ะอาหาร ผิดมารยาทเพราะถือว่าไม่ให้ความสำคัญกับคนที่นั่งร่วมโต๊ะด้วย 4. ไม่ควรถอดรองเท้าใต้โต๊ะ และไม่ควรใส่รองเท้าแตะหรือรองเท้าเปิดส้น 5. เอาใจใส่ดูแลทรงผม ให้เรียบร้อย 6. เสื้อผ้าผู้หญิงให้ระวัง อย่าใส่คอลึก ถ้าสวมกระโปรง ไม่นิยมนุ่งกระโปรงสั้น 7. จานขนมปังอยู่ทางซ้ายมือเสมอ (หากหยิบผิด ให้กล่าวคำขอโทษ แล้วเปลี่ยนจานขนมปังได้) 8. ขนมปังหยิบรับประทานได้เลย ไม่ต้องรอให้เจ้าภาพบอก หากหมดแล้วขอใหม่ได้ วิธีรับประทานที่ถูกต้องคือ บิขนมปังด้วยมือ แล้วทาเนยตรงชิ้นที่เข้าปาก และเมื่อใช้มีดป้ายขนมปังเสร็จแล้ว ต้องวางคืนไว้ที่จานขนมปัง (ขนมปังรับประทานได้เรื่อยๆ จนกระทั่งจบเมนคอร์ส ถือเป็นอันสิ้นสุด) 9. แก้วน้ำอยู่ทางขวามือ 10. ใช้ช้อน ส้อม มีด จากด้านนอกสุดเข้าหาด้านในสุด 11. การรับประทานซุปด้วยช้อนซุป ควรตักซุปออกจากตัว และรับประทานซุปทางด้านข้างของช้อน ถ้าเป็นซุปใสใส่ถ้วยที่มีหู สามารถยกถ้วยดื่มได้เลย ยกเว้น ซุปข้น และไม่ควรมีเสียงดังขณะดื่ม และไม่ควรเอาขนมปังจิ้มซุป 12. ควรสนทนากับผู้นั่งข้างเคียงบ้าง แต่อย่าให้เสียงดัง เวลาสนทนาควรวางมีดกับส้อมบนจานเสียก่อน อย่าถือมีดหรือส้อมชี้ประกอบท่าทาง ควรหลีกเลี่ยงหัวข้อสนทนาเรื่องการเมืองและศาสนา ส่วนหัวข้ออื่นๆ พูดได้ เช่น เรื่องดินฟ้าอากาศ รถติด เป็นต้น 13. เวลารับประทานเนื้อ นิยมตัดรับประทานทีละชิ้นแบบอังกฤษ แต่แบบอเมริกันจะหั่นเนื้อจนหมด แล้ววางมีดไว้ด้านบนของจาน แล้วเปลี่ยนถือส้อมด้วยมือขวาส่งอาหารเข้าปาก สำหรับในประเทศไทยนิยมแบบอังกฤษ 14. เวลาหั่นอาหาร เมื่อหยิบส้อมขึ้นมา ให้คว่ำส้อม แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วห้วแม่มือจับไว้ที่คอมีด เพื่อจะได้ออกแรงหั่นได้ดี 15. ถ้าอาหารมีลักษณะเป็นเส้น เช่น เส้นสปาเกตตี ให้ใช้ส้อมม้วนเส้น แล้วค่อยนำใส่ปากรับประทาน 16. อาหารจะเซตเมนูมาให้อยู่แล้ว ขอเพิ่มไม่ได้ จบแล้วจบเลย งานเลี้ยงอย่างเป็นทางการจะไม่มีการเสิร์ฟอาหารเพิ่มเติม 17. เสิร์ฟอาหารอะไรมาก็ต้องรับประทานแบบนั้น 18. ไม่ควรแชร์อาหารกับคนข้างๆ ห้ามทำเด็ดขาด 19. การเสิร์ฟ ซอร์เบท (Sorbet) หรือไอศกรีมที่ไม่ใส่นม ไม่ใส่ครีม มีรสเปรี้ยวนำ ก็เพื่อล้างปากก่อนเสิร์ฟอาหารจานต่อไป นิยมเสิร์ฟในงานพิธีการใหญ่ๆ ถ้าเป็นงานปกติจะไม่เสิร์ฟ 20. การใช้เครื่องมือรับประทานอาหารแบบพิเศษ ถ้าไม่ทราบวิธีการใช้ ให้สังเกตคนรอบข้าง 21. การรับประทานผลไม้ ใช้ส้อมหยิบผลไม้แล้วปอกด้วยมีด ซึ่งแล้วแต่ชนิดของผลไม้มีวิธีต่างๆ กัน 22. ไม่ควรเอื้อมหยิบของข้ามหน้าแขกท่านอื่นๆ ควรเรียกพนักงานบริการหยิบให้ ถ้าจำเป็นให้ขอร้องผู้นั่งร่วมโต๊ะที่นั่งอยู่ถัดไปด้วยความสุภาพ พร้อมกล่าวคำขอบคุณ 23. ในกรณีที่ทำของหรืออุปกรณ์รับประทานอาหารตกจากโต๊ะ อย่าตกใจ ควรขอโทษคนข้างเคียงเบาๆ และไม่ควรหยิบขึ้นมาจากพื้นเอง ขอใหม่ได้จากบริกร 24. การรวบมีดกับส้อม หรือช้อนส้อม อังกฤษนิยมรวบไว้ตรงกลาง ตรงหน้า และหงายส้อม แต่อเมริกันนิยมรวบไว้หัวจานเฉียงๆ 25. ควรซับริมฝีปากด้วยผ้าเช็ดปากเสียก่อนการดื่มเครื่องดื่มต่างๆ 26. อาหารที่เป็นจาน 'ของหวาน' ให้ใช้ช้อน-ส้อมที่อยู่ด้านหน้า 27. ถ้าเสิร์ฟชาหรือกาแฟ เมื่อผสมใช้ช้อนคนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เอาช้อนวางไว้ อย่าใช้ช้อนตักชิม 28. และอย่าเผลอเอามีดจิ้มอาหารใส่ปาก 29. หากรับประทานอาหารที่มีกระดูก ให้ใช้ทิชชูปิดปากแล้วค่อยๆ คายกระดูกออกจากปาก หรือหากรับประทานอาหารที่มีก้างหรือกระดูกไก่ ซึ่งเมื่อใช้ช้อน-ส้อมแทะเนื้อหมดแล้ว สามารถนำกระดูกวางไว้ข้างๆ จานได้ 30. หากรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ควรตักทีละอย่าง แล้วต้องมั่นใจด้วยว่าที่ตักมาแล้วต้องรับประทานให้หมด และเมื่อหมดแล้วสามารถลุกไปหยิบใหม่ได้อีก และไม่ควรอย่างยิ่งที่ตักมากองๆ ไว้เผื่อคนอื่น ให้ตักเฉพาะตัวเอง 31. การเสิร์ฟเครื่องดื่มนั้นจะเสิร์ฟตามชนิดของอาหาร เช่น เสิร์ฟปลาและอาหารทะเลกับไวน์ขาว อาหารประเภทเนื้อหรือไก่ก็จะเสิร์ฟพร้อมไวน์แดง หรือไวน์โรเซ่ ส่วน 'แชมเปญ' จะเสิร์ฟตอนท้ายสำหรับการดื่มอวยพร ถ้ามีการดื่มแชมเปญ และได้รับเชิญ ห้ามปฏิเสธเด็ดขาด ถือว่าเสียมารยาท แต่ถ้าใครไม่ดื่มช่วงที่มีการดื่มอวยพร ให้ยกแก้วขึ้นจรดภายนอกริมฝีปาก โดยไม่ต้องเอาเข้าปาก 32. ถ้าเสิร์ฟไวน์ สามารถดื่มได้ตลอดจนจบงาน 33. ในกรณีที่มีการเสิร์ฟผลไม้สด เจ้าภาพจะเตรียมมีดสำหรับผลไม้ไว้ให้ พร้อมจัดถ้วยใส่น้ำลอยด้วยดอกกุหลาบหรือกลีบกุหลาบไว้ให้สำหรับล้างปลายนิ้ว และต้องล้างมือทีละข้าง อย่าล้างทั้งสองมือ (ไม่สุภาพ) ควรระมัดระวังการล้างมือ อย่าให้น้ำหกเลอะเทอะ ใช้ผ้าเช็ดมือเช็ดมือให้เรียบร้อย พึงระวังว่าไม่ใช่น้ำดื่มเพราะอาจพลาดหยิบขึ้นมาดื่มได้ ในกรณีที่ผลไม้ได้รับการปอกเปลือกเรียบร้อยแล้ว ทางเจ้าภาพจะเสิร์ฟส้อมผลไม้แทน 34. Menu Card แสดงรายการอาหาร นิยมใช้กระดาษทองขอบทองขนาด 4x6 นิ้ว โดยมากมักจะพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส (ถ้าเป็นไทยล้วนก็ควรใช้ภาษาไทย) หลังจบงานเลี้ยงแล้ว ถ้าต้องการเก็บเป็นที่ระลึก สามารถนำกลับได้ 35. ควรคำนึงถึงความสุภาพ นิ่มนวล และไม่รีบร้อน

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การนับเลขในภาษาฝรั่งเศส วิธีจำ 0-16 ต้องจำทุกตัว 17 = 10+7/ 18 /19/…จนถึง20 0 zéro อ่านว่า เซ โคร 1 Un อ่านว่า เอิง 2 Duex อ่านว่า เดอซ์ 3 Trois อ่านว่า ทรัวซ์ 4 Quatre อ่านว่า กาท เทรอะ 5 Cinq อ่านว่า แซง 6 Six อ่านว่า ซิซ 7 Sept อ่านว่า เซท (เทอะ) 8 Huit อ่านว่า วิทท์ 9 Neuf อ่านว่า เนิฟ 10 Dix อ่านว่า ดิซ 11 onze องซ์ 12 douze ดูซ 13 treize แทรซ์ 14 quatorze กาตอรซ์ 15 quinze แกงซ์ 16 seize แซซ 17 dix-sept ดีเซท 18 dix-huit ดีวิท 19 dix-neuf ดีเนิฟ 20 vingt แวง 21= 20+1/22/23/24/25…..30 21 vingt et un แวงเตเอิง 22 vingt-deux แวงเดอ 23 vingt-trois แวงทรัว 24 vingt-quatre แวงกัทเทรอะ 25 vingt-cinq แวงแซงค์ 26 vingt-six แวงค์ซิซ 27 vingt-sept แวงค์เซทเตอะ 28 vingt-huit แวงค์วิทเตอะ 29 vingt-neuf แวงค์เนิฟ 30 trente ทรองเตอะ 31= 30+1/32/33/34/35…..40 31 trente et un ทรองเตอะเตเอิง 32 trente-deux ทรองเตอะเดอ 33 trente-trois ทรองเตอะทรัว 34 trente-quatre ทรองเตอะกัทเทรอะ 35 trente-cinq ทรองเตอะแซงค์ 36 trente-six ทรองเตอะซิซ 37 trente-sept ทรองเตอะเซทเตอะ 38 trente-huit ทรองเตอะวิทเตอะ 39 trente-neuf ทรองเตอะเนิฟ 40 quarante การองเตอะ 41= 40+1/42/43/44/45…..50 41 quarante et un การองเตอะเตเอิง 42 quarante-deux การองเตอะเดอ 43 quarante-trois การองเตอะทรัว 44 quarante-quatre การองเตอะกัทเทรอะ 45 quarante-cinq การองเตอะแซงค์ 46 quarante-six การองเตอะซิซ 47 quarante-sept การองเตอะเซทเตอะ 48 quarante-huit การองเตอะวิทเตอะ 49 quarante-neuf การองเตอะเนิฟ 50 cinquante แซงกอง 51= 50+1/52/53/54/55…..60 51 cinquante et un แซงกองเตเอิง 52 cinquante-deux แซงกองเดอ 53 cinquante-trois แซงกองทรัว 54 cinquante-quatre แซงกองกัทเทรอะ 55 cinquante-cinq แซงกองแซงค์ 56 cinquante-six แซงกองซิซ 57 cinquante-sept แซงกองเซทเตอะ 58 cinquante-huit แซงกองวิทเตอะ 59 cinquante-neuf แซงกองเนิฟ 60 soixante ซัวซอง 61= 60+1/62/63/64/65…..70 61 soixante et un ซัวซองเตเอิง 62 soixante-deux ซัวซองเดอ 63 soixante-trois ซัวซองทรัว 64 soixante-quatre ซัวซองกรัทเทรอะ 65 vingt-cinq ซัวซองแซงค์ 66 soixante-six ซัวซองซิซ 67 soixante-sept ซัวซองเซทเตอะ 68 soixante-huit ซัวซองวิทเตอะ 69 soixante-neuf ซัวซองเนิฟ 70 soixante-dix ซัวซองดิซ ***71= 60+11/72=60+12/73=60+13/74=60+14/…..80*** 71 soixante et onze ซัวซององซ 72 soixante-douze ซัวซองดูซ 73 soixante-treize ซัวซองแทซ 74 soixante-quatorze ซัวซองกาตอรซ์ 75 soixante-quinze ซัวซองแกงซ์ 76 soixante-seize ซัวซองแซซ 77 soixante-dix-sept ซัวซองดีสแซ็ต 78 soixante-dix-huit ซัวซองดีสวิท 79 soixante-dix-neuf ซัวซองดีสเนิฟ 80 quatre-vingts กัทเทรอะแวง ***80=4×20*** *****81=(4×20)4+1/82/83…90***** 81 quatre-vingt-un กัทเทรอะแวงเอิง 82 quatre-vingt-deux กัทเทรอะแวงเดอ 83 quatre-vingt-trois กัทเทรอะแวงทรัว 84 quatre-vingt-quatre กัทเทรอะแวงกรัทเทอร์ 85 quatre-vingt-cinq กัทเทรอะแวงแซงค์ 86 quatre-vingt-six กัทเทรอะแวงซิซ 87 quatre-vingt-sept กัทเทรอะแวงแซ็ต 88 quatre-vingt-huit กัทเทรอะแวงวิท 89 quatre-vingt-neuf กัทเทรอะแวงเนิฟ 90 quatre-vingt-dix กัทเทรอะแวงดิซ***90=(4×20)+10**** 91=(4×20)+11…92=(4×20)+12/…..100 91 quatre-vingt-onze กัทเทรอะแวงองซ 92 quatre-vingt-douze กัทเทรอะแวงดูซ 93 quatre-vingt-treize กัทเทรอะแวงแทซ 94 quatre-vingt-quatorze กัทเทรอะแวงกาตอรซ์ 95 quatre-vingt-quinze กัทเทรอะแวงแกงซ์ 96 quatre-vingt-seize กัทเทรอะแวงแซซ 97 quatre-vingt-dix-sept กัทเทรอะแวงดีสแซ็ต 98 quatre-vingt-dix-huit กัทเทรอะแวงดีสวิท 99 quatre-vingt-dix-neuf กัทเทรอะแวงดีสเนิฟ 100 = cent (ซ็อง) หนึ่งร้อย 1000 = mille (มิลย์) หนึ่งพัน 10000=dix mille (ดิก-มิลย์) หนึ่งหมื่น 100000=cent mille (ซ็อง-มิลย์) หนึ่งแสน 1000000 = million (มิลลิอง) หนึ่งล้าน 10,000,000 = dix millions (ดิก-มิลลิอง) สิบล้าน 100,000,000= cent millions (ช็อง-มิลลิอง) ร้อยล้าน 1,000,000,000= un milliard (เอิง-มิลลิอา-ทคึ) พันล้าน 1,000,000,000,000= un trillion (เอิง-ติล-ริอง) ล้านล้าน

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เกร็ดความรู้ La civilisation française

La civilisation française (วัฒนธรรมประเทศฝรั่งเศส) Le lieu de l’administration (สถานที่ราชการ) Le lieu de l’administration (สถานที่ราชการ) • Le president de la France reside au Palais de l’Eysée. (สถานที่ราชการของประธานาธิปดี) • La maison de Premier Ministre est L’Hôtel Matigon. (สถานที่ราชการของนายกรัฐมลตรี) • Le sénat de la France se trouve au Palais Luxembourg. (สถานที่ราชการของสมาชิกวุฒิสภา) • L’Assemble Nationale se trouve au Palais Bourbon. (สถานที่ราชการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร) • Le maire travaille dans la Mairie [l’Hôtel de Ville]. (สถานที่ราชการของนายอำเภอ) *C’est le president qui nome le Premier Ministre. (ประธานาธิบดีเป็นผู้เลือกนายกฯ)

Les jours de la semaine

วันและเดือน เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศส อย่างไร อ่านว่าอย่างไร Les jours de la semaine En français, la semaine commence toujours le lundi. En face de chaque jour de la semaine, l'étymologie : • Lundi : jour de la lune • Mardi : jour de Mars • Mercredi : jour de Mercure • Jeudi : jour de Jupiter • Vendredi : jour de Vénus • Samedi : jour du sabbat (sabbati dies en latin), ou de Saturne • Dimanche : jour du seigneur (dominus en latin Les mois • Janvier • Février • Mars (on prononce le s) • Avril • Mai • Juin • Juillet • Août (prononcer "ou", "outte" ou "a-outte") • Septembre • Octobre • Novembre • Décembre